รู้จักภาวะเปราะบาง
ภาวะเปราะบางไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะหนึ่งของร่างกายซึ่งอยู่ระหว่างกลางของความสามารถในการทำงานได้กับภาวะไร้ความสามารถ และอยู่ระหว่างความมีสุขภาพดีกับความเป็นโรค เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญและพบบ่อยในผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ผู้ที่มีภาวะเปราะบาง ความสามารถทางกายภาพของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายลดลง เพิ่มความรุนแรงของความเจ็บป่วย บกพร่องทางความคิด การเคลื่อนไหวของร่างกายลดลง ทั้งการเดินและการทรงตัวจนอาจเกิดการพลัดตกหกล้ม และเกิดภาวะพึ่งพาในที่สุด
อาการบอกโรค
หากมีอาการตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไปจาก 5 ข้อดังต่อไปนี้ถือว่าผู้สูงอายุมีภาวะเปราะบาง
- น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ
- รู้สึกเหนื่อยหมดแรง
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- เดินช้าลง
- ออกแรงในชีวิตประจำวันลดลง
ผลกระทบจากภาวะเปราะบาง
- ด้านจิตใจ บกพร่องทางความคิด ภาวะซึมเศร้า รู้สึกสิ้นหวัง
- ด้านร่างกายสูญเสียความสามารถในการเดินและการทรงตัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง การทำงานของระบบต่าง ๆ ลดลง
- ด้านเศรษฐกิจสูญเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เนื่องจากเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันจากการเจ็บป่วย ต้องการคนดูแล การดูแลระยะยาว การเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ความพิการ และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตมากขึ้น
ป้องกันก่อนเปราะบาง
การป้องกันและการส่งเสริมสุขภาพให้ไม่เปราะบาง ได้แก่
- ออกกำลังกายรวมถึงความต้านทานการยกน้ำหนัก ออกกำลังกายขนาดใหญ่ของกลุ่มกล้ามเนื้อโครงร่าง ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อในร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงการออกกำลังกาย ความอดทนและความเร็วในการเดิน
- ไทชิเป็นการออกกำลังกายที่ช้าและอ่อนโยนปรับปรุงความสมดุลและการเดิน
- ทานอาหารเสริมโดยเพิ่มระหว่างมื้ออาหาร อาหารเสริมโปรตีนช่วยในการรักษามวลกล้ามเนื้อ
- บำรุงรักษาสุขภาพช่องปากแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน จำกัดปริมาณน้ำตาล เช่น โซดาและขนม รวมถึงตรวจฟันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- ประเมินสิ่งแวดล้อมของบ้านหรือที่อยู่อาศัยรวมถึงความปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดการพลัดตกหกล้ม สร้างราวจับในห้องอาบน้ำ พื้นผิวไม่ลื่น ลาดเอียง แสงที่เหมาะสมและระบบกดเรียกฉุกเฉิน
- คนในครอบครัวมีความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของภาวะเปราะบาง สามารถดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้อง
สำหรับภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุถือเป็นภัยเงียบที่ต้องได้รับการป้องกันเป็นพิเศษ เนื่องจากการให้ความรู้ที่ไม่เพียงพอ ทำให้ผู้สูงอายุละเลยการจัดการตนเองเมื่ออยู่ในสภาพความเสื่อมถอยในผู้สูงอายุ และในปัจจุบันด้วยสภาพการทำงานที่ทุกคนในครอบครัวต่างต้องออกไปทำงานนอกบ้าน จึงทำให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่ต้องรักษาอาการอยู่ในพื้นที่พักอาศัยตามลำพัง ซึ่งบุคคลเหล่านี้อยู่ในความเสี่ยงที่อาจเกิดอุบัติเหตุหรืออาการเจ็บป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และส่งผลให้เกิดการติดต่อขอความช่วยเหลือที่ล่าช้า ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตในที่สุด ด้วยความห่วงใยและไม่ต้องการให้ครอบครัวไหนต้องเกิดการสูญเสีย MAXWELL ผู้นำด้านระบบรักษาความปลอดภัยจึงได้คิดค้นนวัตกรรม ปุ่มฉุกเฉิน หรือ ปุ่มฉุกเฉินผู้สูงอายุ เป็นการแจ้งขอความช่วยเหลือที่สามารถทำได้โดยการกดปุ่มเดียวและสามารถรายงาน แจ้งไปยังสมาชิกภายในบ้านได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ได้รับความช่วยเหลือได้ทันท่วงที อันจะนำไปสู่การลดปัญหาที่ก่อให้เกิดความสูญเสีย
Maxwell Elder & Patients Care คือระบบปุ่มฉุกเฉินแบบไร้สายที่สามารถแจ้งขอความช่วยเหลือไปยังสมาชิกที่อาศัยอยู่ร่วมกันด้วยข้อความและภาพวิดีโอผ่าน Internet Cloud Server ไปยังสมาร์ทโฟนเพื่อการประสานขอความช่วยเหลืออย่างฉับไว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปุ่มฉุกเฉิน, ปุ่มฉุกเฉินผู้สูงอายุ, ปุ่มขอความช่วยเหลือ และระบบรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ อาทิ ระบบกันขโมย กล้องกันขโมย กล้องวงจรปิด สัญญาณกันขโมยบ้าน MAXWELL ได้ที่ :
Tel. 02-374-4060
E-mail: support@maxwell.co.th
Line @maxwellsecurity
Facebook : https://www.facebook.com/RiscoDistributorThailand/
สายด่วน Hotline (24 ชั่วโมง) 085-485-3500
หรือติดต่อพนักงานขาย 085-485-3501