รู้หรือไม่ ค่าไฟเขาคิดแบบนี้ !

ทำไมค่าไฟเดือนนี้แพงจัง ? หลายบ้านน่าจะเคยมีคำถามแบบนี้กับตัวเอง และเคยสงสัยกันไหมว่าทำไมมันถึงแพง นี่เขาคิดเงินเราเกินจริงหรือเปล่านะ…
.
วันนี้ MR.MAXWELL จะพาทุกคนไปคำนวณค่าไฟบ้านตัวเองกันว่า ค่าไฟที่เราโดนเรียกเก็บกับค่าไฟจริงตามมิเตอร์นั้น มันตรงกันหรือไม่ ?
.

ขั้นแรกเราลองมาคำนวณคร่าว ๆ กันก่อนว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชิ้นของเรา กินไฟไปประมาณเท่าไหร่

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนั้น ๆ ÷ 1,000 x จำนวนชั่วโมงโดยประมาณที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วย (ยูนิต) ต่อวัน

เช่น หลอดไฟขนาด 50 วัตต์ จำนวน 10 ดวง ใช้งานวันละประมาณ 6 ชั่วโมง
= 50 x 10 ÷ 1,000 x 6 = 3 ยูนิตต่อวัน หรือ 90 ยูนิตต่อเดือน

จากนั้นให้คำนวณคร่าว ๆ แบบนี้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดในบ้าน เพื่อให้ได้จำนวนยูนิตต่อเดือน


ต่อไปเราลองนำจำนวนยูนิตต่อเดือนที่ได้ มาแปลงเป็นจำนวนค่าไฟกัน
สมมุติว่าจำนวนการใช้ไฟของเราอยู่ที่ประมาณ 969.75 ยูนิตต่อเดือน จะสามารถคำนวณค่าไฟโดยอิงข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ดังนี้

-35 ยูนิตแรก จะเหมาจ่ายอยู่ที่ 85.21 บาท

-115 ยูนิตต่อไป จะคิดราคายูนิตละ 1.1236 บาท
= 115 x 1.1236 = 129.21 บาท

-250 ยูนิตต่อไป จะคิดราคายูนิตละ 2.1329 บาท
= 250 x 2.1329 = 533.23 บาท

-400 ยูนิตขึ้นไป จะคิดราคายูนิตละ 2.4226 บาท
= (969.75-400) = 569.75 x 2.4226 = 1,380.28 บาท

รวมเป็นเงิน (85.21 + 129.21 + 533.23 + 1,380.28) = 2,127.93 บาท


ต้องบอกว่าอันนี้เป็นสูตรคำนวณเบื้องต้นเท่านั้นนะครับ ยังไม่ได้รวม VAT หรือค่าบริการอื่น ๆ โดยคุณสามารถตรวจสอบค่าไฟด้วยตัวเองเพิ่มเติมได้ที่ www.mea.or.th/aboutelectric/116/280/form/11
.
การทดลองคำนวณค่าไฟด้วยตัวเองเบื้องต้น นอกจากจะช่วยให้เราประหยัดไฟได้มากขึ้น จากการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมาก ยังลดโอกาสในการเกิดเพลิงไหม้ได้อีกด้วย และถ้าหากกลัวว่าจะเกิดเพลิงไหม้แล้ว “บ้านหายเพราะไฟมา” แล้วละก็ แนะนำให้ติดตั้งระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ (Smart Fire Alarm System) เอาไว้ เพื่อลดโอกาสในการเกิดเหตุไฟไหม้ที่ไม่คาดคิดครับ